วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

- ประวัติวอลเลย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนอง ประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้
เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 2 ฟุต 1 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ
จนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโทเนตต์" (Mintonette)
ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด ( Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโทเนตต์ (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น
ปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก 2011 คู่หญิง Part 4




- ทักษะการเล่นวอลเลย์บอล

 การเสิร์ฟ (อันเดอร์)

1. หงายมือทั้งสองข้าง
2. เอามือหนึ่งไปวางช้อนทับอีกมือหนึ่ง
3.รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน มัด
4. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด 
5. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด 
6. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน .กำมือ
7.กำมือทั้งสองข้าง
8.นำมือทั้งสองข้างมาชิดกัน
9.ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน



การออกแรงเล่นลูกด้วยสองมือล่าง
หากลูกบอลที่พุ่งมาไม่แรง การอันเดอร์ลูกต้องเพิ่มแรงยกของแขนขึ้น เพื่อให้เกิดแรงกระทบ
ลูกหากลูกบอลพุ่งมาแรงมากให้ออกแรงส่งเพียงเล็กน้อยโดยอาศัยแรงกระดอนจากลูกช่วยใน
การส่งลูกบอลการที่จะใช้แรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระยะทางความเร็ว ความแรงของลูกบอลด้วย



ท่าการอันเดอร์

1.1 ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน ประมาณ 1 ช่วงไหล่
1.2 ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อยก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า
1.3 ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ตรงบริเวณโคนหัวแม่เท้า ใต้ฝ่าเท้า
1.4 จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง ตามองที่ลูกบอล



การส่ง ( เซ็ท )

การยกมือทั้งสองในการเซ็ต

1. ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ 1 กำมือ ( 10 เซนติเมตร ) 
2. กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย กางนิ้วออกนิ้วงอเป็นครึ่งวงกลม ปลายนิ้วก้อยอยู่ข้างหน้า

การยืนเตรียมพร้อมในการเซ็ตลูกบอล

1. ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันประมาณ 1 ช่วงไหล่หรือกว้างกว่าเล็กน้อยจะยืนให้ปลายเท้าทั้งสองเสมอกันหรือเท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้านำได้
2. ยกเส้นเท้าเล็กน้อย ย่อเข่าแขม่วท้อง โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ปล่อยไหล่ตามสบายไม่เกร็ง

การออกแรงเซตลูกบอล

1. เคลื่อนที่ไปที่ลูกบอลจะตกให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณหน้าผาก
2. ย่อเข่า ยกมือให้จุดสัมผัสบอลกับนิ้วมือห่างจากหน้าผาก 20 ซ.ม
2. สปิงนิ้วมือพร้อมทั้งส่งแรงจากข้อศอกรวมทั้งการเหยียดแขนและเข่าออกไป


การสกัดกั้น ( ป้องกันการตบ ) 


1. ยืนแยกเท้าออกประมาณ 1 ช่วงไหล่

2.  มือทั้งสองยกขึ้นกางฝ่ามือออก
3.  งอเข่าเล็กน้อย
4.  ศีรษะตั้งตรงมองไปข้างหน้า

การสกัดกั้นอยู่กับที่


1. ผู้สกัดกั้นยืนอยู่กับที่
2. กระโดด
การสกัดโดยการเคลื่อนที่ เป็นการสกัดกั้นในขณะที่ต้องเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอล ซึ่งอยู่ห่างจากตัว
ผู้สกัดนั้น จะสังเกตว่า การวิ่งเข้าสกัดกั้นนี้ จะต้องวิ่งในลักษณะขนานกับตาข่ายและในจังหวะที่
จะกระโดดนั้น ให้บิดตัวหันหน้าเข้าหาตาข่าย

การตบลูกวอลเลย์บอล


1. การวิ่งเคลื่อนที่เข้าหาจุด
2. เตรียมกระโดดห่างจากจุดที่ลูกบอลตกประมาณ 1 ฟุต
3. กระโดดเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลัง น้ำหนักตัวไปข้างหลัง เข่างอ
4. เหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นข้างหน้า พร้อมกับถีบเท้าทั้งสองกระโดดลอยตัว ขึ้นตรง ๆ
5. แขนขวาเงื้อไปข้างหลัง งอแขนเล็กน้อย แบมือ ตามองดูบอลตลอดเวลา
6. จังหวะที่จะตบ ให้กดไหล่ซ้ายลง พร้อมกับตบลูกบอลให้แรงส่งจากข้อมือ ศอก ไหล่ และลำตัว
7. ลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองในลักษณะย่อตัว


- สรุปกติกาการเเข่งขันวอลเลย์บอล

1. ถ้าลูกบอลทำให้ตาข่ายฉีกขาดหรือทำให้ตาข่ายหลุด ให้ยกเลิกการเล่นลูกนั้นและให้เริ่มเล่นใหม่
2. ผู้ที่รับลูกเสิร์ฟจากฝ่ายตรงข้าม จะทำการสกัดกั้นหรือตบลูกบอลไม่ได้
3. แต่ละทีมจะขอเวลานอกได้ ๒ ครั้งต่อเซต
4. เมื่อลูกบอลพุ่งไปถูกตาข่ายและเป็นเหตุให้ตาข่ายไปถูกฝ่ายตรงข้ามถือว่าไม่ผิดกติกา
5. ผู้เล่นถูกตาข่าย ในกรณีที่มีการเล่นลูกในแถวหน้า ถือว่าผิดกติกา
6. ผู้เล่นถูกลูกบอลในแดนของฝ่ายตรงข้าม ก่อนหรือระหว่างการเล่นลูกบอลของฝ่ายตรงข้ามถือว่าผิดกติกา
7. การเล่นลูกบอลคนเดียวติดต่อกันสองครั้ง เช่น ตั้งลูกเองแล้วตบลูกบอล ถือว่ผิดกติกา
8. หากฝ่ายรับบล็อกลูกบอลกลับไปถูกศีรษะของผู้ที่ตบลูกบอลมา แล้วลูกบอลเคลื่อนไปถูกเสาอากาศ ลักษณะนี้ถือว่าฝ่ายตบทำลูกบอลออกเพราะลูกบอลถูกเสาอากาศแล้ว
9. ลูกบอลที่ข้ามแนวตาข่ายไปยังเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามแล้ว โดยบางส่วนหรือทุกส่วนของลูกบอล
อยู่ภายนอกพื้นที่สำหรับข้ามตาข่าย อาจนำกลับมาเล่นได้อีก ถ้าผู้เล่นไม่ถูกด้านเดียวกันสนาม ฝ่ายตรงข้าม
จะกีดขวางการเล่นลูกนี้ไม่ได้
10. ในเซตตัดสิน ทีมใดทำคะแนนได้ ๘ คะแนน ให้ทำการเปลี่ยนแดนทันที และตำแหน่งของผู้เล่นให้เป็นไปเหมือนเดิม